อุตสาหกรรม”ครบวงจร”ของซีพี

ซีพีจึงได้ขยายเข้าไปในอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มผลิตวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ทำฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกไก่ สร้างโรงงานแปรรูปอาหาร และเนื้อไก่ ในกระบวนการนี้ ซีพีได้นำอุปกรณ์ใหม่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อผลิตไก่แช่แข็งคุณภาพสูง เทคโนโลยีตัวนี้เรียกว่า เทคโนโลยี IQF หรือ Individual Quick Freezing ซึ่งทำได้ด้วยความร่วมมือจากบริษัทเทรดดิ้ง เฟิร์มของญี่ปุ่น

ธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ทุ่มเทความพยายามในการผลิตอาหารสัตว์ในประเทศ เนื่องจากเขาคาดการณ์ว่า จะเป็นธุรกิจที่โตเร็ว ด้วยความต้องการเนื้อไก่ และหมูในประเทศมีมากขึ้น จากทำการศึกษา ตลาด การขนส่ง และเทคโนโลยี การผลิตอย่างดีแล้ว ปี 2511 ธนินท์จึงตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเจียรวนนท์ จำกัด (บริษัทถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทกรุงเทพอาหารสัตว์ จำกัด ในปี 2514) โรงงานตอนนั้น นับได้ว่าเป็นโรงงาน ที่ทันสมัยแห่งแรกของประเทศ อย่างไรก็ตามช่วงปี 2512-2520 รัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์แบบทันสมัยผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จนเป็นเหตุให้คู่แข่ง อย่างศรีไทยปศุสัตว์ และเบทาโกรเริ่มเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ กลุ่มซีพีรับมือกับการท้าทายครั้งนี้ด้วยยุทธ์ศาสตร์สำคัญ 2 ประการนั่นคือ ทำให้สถานภาพของอุตสาหกรรมโรงงานอาหารสัตว์มั่นคงขึ้น ด้วยการผลิตในปริมาณมากๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในอีกด้านหนึ่ง ที่ทำก็คือ ใช้ระบบการผลิตแบบครบวงจรกับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

 ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลผ่านบีโอไอ กลุ่มซีพีสามารถตั้งโรงงานใหม่โรงแล้วโรงเล่าได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็สามารถขยายศักยภาพในการผลิตของโรงงาน ที่มีอยู่เดิมได้ด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของซีพี ในปริมาณการผลิตโดยรวมในไทยเพิ่มสูงขึ้นจาก 27% ในปี 2515 (จำนวน 1 บริษัทจากทั้งสิ้น 13 บริษัท) เป็น 40% ในปี 2520 (จำนวน 4 บริษัทจากทั้งสิ้น 34 บริษัท) และเป็น 50% ในปี 2524 (5 บริษัทจากทั้งสิ้น 38 บริษัท) ทั้ง 5 บริษัทดังกล่าวของซีพีเพียบพร้อมไปด้วยเครื่องจักรใหม่ๆ

 ปัจจัย ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการเติบโตของซีพีก็คือ ยุทธ์ศาสตร์การผลิตแบบครบวงจรในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ และแปรรูปปศุสัตว์ จากการสำรวจเมื่อปี 2525 พบว่า วัตถุดิบในการผลิตอย่างข้าวโพด ถั่วเหลืองป่น ปลาป่น มีต้นทุนสูงถึง 85% ของต้นทุนการผลิตรวมในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ ขณะที่อาหารสัตว์มีต้นทุนสูงถึง 75% ของต้นทุนการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ทั้งหมด และลูกไก่มีต้นทุนเพียง 15% เท่านั้น เช่นเดียวกันโรงงานแปรรูปปศุสัตว์ ต้นทุนสำหรับการเลี้ยงไก่สูงถึง 85% ของต้นทุนทั้งหมด ในขณะที่ค่าจ้างแรงงาน และเงินเดือนมีต้นทุนเพียง 3% ของต้นทุนทั้งหมดเท่านั้น โครงสร้างต้นทุนในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ทำโรงงานผลิตอาหารสัตว์จะได้กำไรมากกว่าหากผสานกระบวนการผลิตในทุกขั้นเข้าด้วยกัน แรงกระตุ้นสำคัญอีกข้อหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดระบบการผสมผสานดังกล่าวก็คือ ธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ ไก่เลี้ยงไม่ใช่ไก่ธรรมชาติ แต่เป็นผลผลิตของสายพันธุ์ ที่ผสมขึ้นในโรงเพาะเลี้ยง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเลี้ยงไก่ก็ต้องสั่งซื้อพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาจากต่างประเทศ นอกจากนี้เทคนิคของการเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ดังกล่าวก็ถูกผูกขาดโดยบริษัทข้ามชาติในอเมริกา และยุโรปเพียงไม่กี่บริษัท ด้วยเหตุนี้การลงทุนภายในประเทศ เพื่อผลิตพ่อแม่พันธุ์ขึ้นเอง ย่อมกลายเป็นประเด็นหลักในระบบการผลิตแบบครบวงจรในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

 ในปี 2513 กลุ่มซีพีเอาชนะปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการจับมือร่วมทุนกับอาร์เบอร์ เอเคอร์ส อิงค์ (Arbor Acres Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสายพันธุ์หลักรายใหญ่สุดของอเมริกา หลังจากนั้น ซีพีจึงได้ขยายเข้าไปในอุตสาหกรรมนี้อย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มผลิตวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ทำฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกไก่ สร้างโรงงานแปรรูปอาหาร และเนื้อไก่ ในกระบวนการนี้ ซีพีได้นำอุปกรณ์ใหม่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อผลิตไก่แช่แข็งคุณภาพสูง เทคโนโลยีตัวนี้เรียกว่า เทคโนโลยี IQF หรือ Individual Quick Freezing ซึ่งทำได้ด้วยความร่วมมือจากบริษัทเทรดดิ้ง เฟิร์มของญี่ปุ่น และอื่นๆ เทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ซีพีสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนไปญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา และด้วยพัฒนาการดังกล่าว อุตสาหกรรมสัตว์ปีกจึงกลายมาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก ที่มุ่งเน้นการส่งออก จนทำให้ไทยได้ขึ้นเป็นประเทศอุตสาหกรรมการเกษตรใหม่ (Newly Agro-Industrializing Country) หลังทศวรรษ 2510

 ปัญหาอันดับท้ายสุด และยากที่สุด ที่ซีพีต้องเผชิญก็คือ จะหาเกษตรกรมาเลี้ยงไก่ส่งให้แก่ซีพีได้อย่างไร และซีพีจะต้องจัดระบบให้คนเหล่านี้อย่างไร ที่จริงก็เป็นไปได้ ที่ผู้ที่ผลิตอาหารสัตว์จะมาทำฟาร์มเลี้ยงไก่เสียเอง แต่นั่นหมายถึงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล เนื่องจากต้องซื้อ ที่ดินด้วย อีกทั้งก็เป็นธุรกิจ ที่เสี่ยงเพราะราคาไก่ขึ้นลงไม่แน่นอน ผู้ผลิตอาหารสัตว์จึงน่าจะมีกำไรมากกว่า หากจัดการให้เกษตรกรอิสระดำเนินการเลี้ยงไก่ โดยให้ผ่านระบบการทำฟาร์มแบบมีสัญญาเชิงพาณิชย์ เกษตรกรเองก็จะได้รับผลประโยชน์จากระบบนี้เนื่องจากเป็นระบบ ที่มีสิ่งจำเป็นให้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทุนเริ่มต้น ความรู้ด้านเทคนิค พันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ วิตามิน วัคซีน และสิ่งจำเป็นอื่นๆ

 นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ๆ อย่างธนาคารกรุงเทพ และนโยบายของรัฐบาลอีกหลายข้อก็ให้การสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ตั้งแต่กลางปี 2513 เป็นต้นมา รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มโครงการให้สินเชื่อพร้อมสรรพ ที่มุ่งสนับสนุนภาคเกษตรกรรม ภายใต้โครงการดังกล่าว ธนาคารกลางจะเป็นผู้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้อย่างน้อย 5% (ภายหลังเพิ่มเป็น 14%) ของยอดเงินกู้ทั้งหมดแก่เกษตรกรหรือผู้ที่อยู่ในธุรกิจการเกษตรอย่างกลุ่มซีพี ด้วยยุทธวิธี “สี่ประสาน” ที่เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สถาบันการเงิน ผู้ผลิตในประเทศ และเกษตรกร ทำให้กลุ่มซีพีสามารถควบคุมอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในไทยได้ทั้งหมด

 สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ช่วงต้นๆ ก็คือ กลุ่มซีพีไม่มีทั้งเทคโนโลยีการผลิต และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกสมัยใหม่เลย ซีพีต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากบริษัทข้ามชาติจากอเมริกาในเรื่องการเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ และจากบริษัทการค้าของญี่ปุ่นเมื่อต้องการพัฒนาตลาดใหม่ในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างชาติก็ไม่สามารถครอบครองอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่มีทั้งความสามารถ ที่จะจัดระบบให้กับเกษตรกรรายย่อย และสายสัมพันธ์ ที่แนบแน่นกับธนาคารพาณิชย์ในท้องถิ่นก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงมีเพียงกลุ่มซีพีเท่านั้น ที่สามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ในอีกนัยหนึ่งก็นับเป็นความสำเร็จของซีพี ที่สามารถเชื่อมประสานทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ที่มีอยู่ทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศให้มาทำงานร่วมกันในกิจกรรมเดียวกันได้ ดังนั้น จึงสามารถเรียกได้ว่า กลุ่มซีพีเป็น “นักประดิษฐ์” ในแง่ ที่สามารถสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ในไทย ทั้งยังได้พัฒนาตลาดสินค้าพิเศษในญี่ปุ่น โดยเฉพาะเนื้อไก่ไร้กระดูก (รวมทั้งยากิโทริ) ซึ่งนำเข้าจากไทย และกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของขาไก่จากอเมริกา

 หมายเหตุ

นื้อหาข้างบนเรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “Modern Family and Corporate Capability in Thailand : A Case Study of the CP Group” เขียนโดย Akira Suehiro ในหนังสือ Japanese Yearbook on Business History 1997

 Suehiro นักวิชาการชาวญี่ปุ่นคนนี้มีผลงานในการอรรถาธิบายการเติบโตของกลุ่มธุรกิจไทยมาแล้ว (โดยเฉพาะหนังสือ Capital Accumulation in Thailand 1855-1985) นับเป็นคนที่สนใจ และมีข้อมูลเมืองไทยอย่างมากมาย ซึ่งหายากในบรรดานักวิชาการไทย

คัดมาจากหนังสือ”ยุทธศาสตร์เอาตัวรอด” 2545

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น